วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

พระราชวังแวร์ซายส์


พระราชวังแวร์ซายส์

ประวัติ

     เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่เมืองแวร์ซายส์ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหานครปารีส พระราชวังแวร์ซายส์เป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก จุดประสงค์สำคัญในการสร้างก็เพื่อต้องการให้ชาวโลกเห็นว่า ความมั่นคั่งสมบูรณ์และความงามเลอเลิศที่สุดในโลกมารวมอยู่ที่ฝรั่งเศสทั้งหมด พระราชวังแวร์ซายส์สร้างด้วยหินอ่อนและตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดาร ด้วยสิ่งประดับที่หาที่สุดมิได้ทั้งลวดลายการแกะสลักในไม้และหิน เครื่องเคลือบ เครื่องเงิน เครื่องทอง หินอ่อน และฝีมือชั้นเยี่ยมและนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันด้วย


    เดิมนั้น เมืองแวร์ซายส์เป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง บริเวณส่วนใหญ่เป็นป่าเขา เยี่ยงชนบทอื่น ๆ ของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศสยังทรงพระเยาว์ ขณะพระชนมายุได้ 23 พระชันษา ทรงนิยมล่าสัตว์ในป่า และทรงเห็นว่าตำบลแวร์ซายส์น่าจะเหมาะแก่การประทับเพื่อล่าสัตว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาใน พ.ศ. 2167 โดยในช่วงแรกเป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ สำหรับพักชั่วคราวเท่านั้น
เมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส  ขึ้นครองบัลลังก์ มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักเดิมในปี พ.ศ. 2204 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ. 2231 ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามมาก ภาย ในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระการตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง
การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายส์แห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎร ชาวฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้มีกองทัพประชาชนบุกเข้ายึดพระราชวังและจับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส กับพระนางมารี อองตัวเนต ประหารด้วย "กิโยติน" ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2332 ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายส์ยังอยู่ในสภาพดีและเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้


ห้องกระจก(Galerie des Glaces หรือ The Hall of Mirrors) เป็นห้องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดซึ่งเคยใช้เป็น ห้องลงนามในสัญญาสงบศึกระหว่างสัมพันธมิตรกับเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และใช้เป็นที่ลงนาม ในเมื่อเยอรมันบุกตีชนะฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ห้องนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำการก่อสร้างเอง ภายในห้องประกอบด้วยกระจกยักษ์ 17 บาน เปิดออกแล้วจะเห็นสวนแวร์ซายส์อันสวยงาม


*น่าประหลาดใจที่พระราชวังแวร์ซายส์มีห้องจำนวนมหาศาลเพื่อความโอ่อ่า ความมีหน้ามีตาของพระมหากษัตริย์ แต่ไม่มีน้ำใช้เพื่อล้างหน้าล้างตาหรือเพื่อการอนามัยที่ดีของบุคคล  เรื่องห้องน้ำในพระราชวังแวร์ซายส์  ดร.โชติรส โกวิทวัฒนพงศ์ คณะวัฒนธรรมนานาชาติศึกษา มหาวิทยาลัยเทนรี ญี่ปุ่น เขียนไว้ตอนหนึ่งในบทความเรื่อง "จาก "น้ำ" สู่ปฏิวัติฝรั่งเศส" ตีพิมพ์ในวารสารประวัติศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ฉบับกันยายน 2542 สรุปความดังนี้

 





มีเอกสารระบุว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 กษัตริย์ฝรั่งเศส (1601-1643) เมื่อทรงประสูติและทรงรับการล้างบาปและรับศีลจุ่มแล้ว ไม่เคยลงสรงน้ำอีกเลยจนเมื่อพระองค์มีพระชนม์ได้ 7 พรรษา และมีผู้เริ่มล้างพระบาทให้พระองค์ก็เมื่อพระชนม์ได้ 6 พรรษาแล้ว ความกลัวการลงแช่ในน้ำก็ยังคงมีต่อไปในจิตสำนึกของชาวยุโรปในศตวรรษที่ 17




ครั้งเดียวที่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (1643-1715) ทรงสรงน้ำในห้องประทับในพระราชวังแวร์ซายส์ คือเมื่อปี 1655 กลิ่นตัวของพระองค์รุนแรงขนาดผู้จงรักภักดีที่สุดของพระองค์พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าเฝ้า
และแม้ว่าแพทย์หลวงจะทูลแนะนำอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ตลอดชีวิตของพระองค์ทรงพอพระทัยกับการให้เช็ดพระพักตร์และโกนหนวดเคราสองวันครั้งด้วยการใช้สำลีจุ่มลงในแอลกอฮอล์เช็ดเท่านั้น


นสมัยของ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (1774-1791)
จึงเริ่มมีการจัดทำห้องส้วมจริงๆ หนึ่งห้อง แยกออกจากห้องอื่นๆ 
รายละเอียดที่น่าสนใจยิ่งอีกอย่างหนึ่งที่มีในพระราชฐาน
คือมีเก้าอี้นั่งอุจจาระทั้งหมด 274 ตัว เก้าอี้นี้เจาะเป็นรูใหญ่ตรงกลางแผ่นที่นั่ง เป็นรูปทรงแบบแรกก่อนที่จะมีการผลิตโถส้วมแบบนั่งในสมัยต่อมา มื่อจะทำธุระจะวางกระโถนรองรับไว้ใต้ที่นั่งตรงรูนั้น มีผ้ากองมหึมาที่ใช้สำหรับเช็ดตัวเช็ดก้น

สำหรับคำถาม ถึงเหตุไม่มีห้องน้ำในแวร์ซายส์
มีคนว่าไว้หลายทาง บ้างว่าเพราะทรงมัวแต่สนใจห้องหรูหราสวยงามทั่วพระราชวัง พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เลยทรงลืมห้องน้ำซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ไป

บ้างว่าทรงเคยประสบเหตุอับอายขายพระพักตร์ครั้งไปเข้าห้องน้ำปราสาทคนอื่น จึงทรงฝังใจไม่ทำห้องน้ำรู้แล้วรู้รอด
อย่างไรก็ตาม ยังพออนุมานได้อีกทางว่า จากพระนิสัยไม่ทรงชอบอาบน้ำ
อันสืบเนื่องมาจากความกลัวการลงแช่ในน้ำ
จากความเชื่อว่าการลงแช่อาบน้ำร้อนเป็นภัยต่อร่างกาย
และทำให้ประสาทเสื่อม

ทั้งในศตวรรษที่ 16-17 ราคาน้ำใช้สูงขึ้นมาก การอาบการแช่น้ำยุติลง พร้อมการระบาดของกาฬโรค
โดยครั้งที่รุนแรงที่สุดสำหรับยุโรปทั้งทวีป เกิดขึ้นในปี 1346-1353 หยุดชะงักไปแล้วกลับระบาดขึ้นใหม่อีกในศตวรรษที่ 16 และ 17 บวกกับเมื่อทรงแก้ปัญหาขับถ่ายได้แล้วด้วยเก้าอี้นั่งอุจจาระ
จึงไม่ทรงเห็นความจำเป็นของห้องน้ำ  











 อ้างอิงจากhttp://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=9040.0และ

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ศิลปะไทย

 ศิลปะไทย



    
   ศิลปะไทย คือศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความงามอย่างนิ่มนวลมีความละเอียดปราณีต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยและจิตใจของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทย อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา เป็นการเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา
  






ศิลปะไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ความงดงามที่สืบทอดอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคมไทย ทำให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตรอลังการที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตา ตื่นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพโดยเฉพาะคนไทย








ลักษณะของศิลปะไทย

ลักษณะของศิลปะไทยไทยไทยเป็นชาติที่มีศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองมาช้านานแล้ว เริ่มตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ศิลปะไทยจะวิวัฒนาการและสืบเนื่องเป็นตัวของตัวเองในที่สุด เท่าที่เราทราบราว พ.ศ. 300 จนถึง พ.ศ. 1800 พระพุทธศาสนานำเข้ามาโดยชาวอินเดีย ครั้งนั้นแสดงให้เห็นอิทธิพลต่อรูปแบบของศิลปะไทยในทุก ๆ ด้านรวมทั้งภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม โดยกระจายเป็นกลุ่มศิลปะสมัยต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เมื่อกลุ่มคนไทยตั้งตัวเป็นปึกแผ่นแล้ว ศิลปะดังกล่าวจะตกทอดกลายเป็นศิลปะไทย ช่างไทยพยายามสร้างสรรค์ให้มีลักษณะพิเศษกว่า งานศิลปะของชาติอื่น ๆ คือ จะมีลวดลายไทยเป็นเครื่องตกแต่ง ซึ่งทำให้ลักษณะของศิลปะไทยมีรูปแบบเฉพาะมีความอ่อนหวาน ละมุนละไม และได้สอดแทรกวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความรู้สึกของคนไทยไว้ในงานอย่างลงตัว ดังจะเห็นได้จากภาพฝาผนังตามวัดวาอารามต่าง ๆ ปราสาทราชวัง ตลอดจนเครื่องประดับและเครื่องใช้ทั่วไป






( อ้างอิง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
http://th.wikipedia.org/wiki/ศิลปะไทย